วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 9

การใช้พจนานุกรม


พจนานุกรมช่วยให้เราสามารถค้นหาคำ อ่านและเขียนคำๆ ได้ถูกต้อง มีพจนานุกรมหลายฉบับ ฉบับที่ทางราชการกำหนดให้ใช้เป็นบรรทัดฐาน คือ
พจนานุกรมฉบับีาชบัณฑิตยสถาน ซึ่งเป็นพจนานุกรมใหญ่ที่สุดด้วย


วิธีเรียงลำดับคำในพจนานุกรม

เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเปิดหาคำในพจนานุกรมได้อย่างรวดเร็ว ผู้เรียนควรรู้ว่าพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเรียงลำดับคำอย่างไร

* คำในพจนานุกรมเรียงลำดับตามรูปพยัญชนะตัวแรกในคำ โดยเรียงดังนี้

ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง
จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต
ถ ท ธ น บ ป ผ
ฝ พ ฟ ภ ม ย ร
ฤ ฤๅ ล ฦ ฦๅ ว ศ
ษ ส ห ฬ อ ฮ

* คำในพจนานุกรมไม่เรียงลำดับตามเสียงอ่าน แตรเรียงลำดับตามรูปพยางค์ ดังนั้นถ้าจะค้นคำว่า หญิง หนัง หมวด หลาย จะต้องไปค้นในหมวดตัวอักษร ห ถ้าจะค้นคำว่าทราบ ทรัพย์ ก็ไปค้นในหมวดตัวอักษร ท


* คำที่อยู่ในหมวดอักษรเดียวกันจะเรียงลำดับตามรูปพยัญชนะตัวถัดไปของคำ ไม่ว่าพยัญชนะตัวถัดไปจะเป็นตัวสะกด อักษรควบกล้ำ หรืออักษรที่ตามอักษรนำ

ตัวอย่าง

กง (ง เป็นตัวสะกด) มาก่อน กฎ เพราะ ง มาก่อน ฎ
กฎ มาก่อน กรด (ร เป็นส่วนหนึ่งของอักษรควบกล้ำ) เพราะ ฎ มาก่อน ร
ขนม (ข อักษรนำ น อักษรตาม) มาก่อน ขบ เพราะ น มาก่อน บ


* คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะและตามด้วยสระจะมาหลังคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ และตามด้วยพยัญชนะ

ตัวอย่าง

คำ กระ จะมาหลังคำ กร่อย คำ คะ จะมาหลังคำ คอ


* การเรียงคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะและตามด้วยสระ จะเรียงลำดับตามรูปสระ ดังนี้

อะ อั อัะ อา อำ อิ อี อึ อื
อุ อู เ เอะ เอา เอาะ เอิ เอี เอีะ
เอื เอืะ แ แอะ โ โอะ ใ ไ


การเรียงคำที่ขึ้นต้นด้วยพจัญชนะและตามด้วยสระ รูปสระที่มี ะ จะมาก่อน และตามด้วย อั อัะ ต่อไปเป็นณุปสระที่มี อา คือ อำ รูปสระที่มี เอ ทุกๆรูปตั้งแต่ที่มีจำนวนรูปน้อยที่สุดจะเรียงลำดับต่อๆ มาแล้วจึงถึงรูปสระที่มี แอ และมี ไอ เป็นอันดับสุดท้าย หากเป็นพจนานุกรมหมวดอักษร ช จะเห็นว่า

ชัย มาก่อน ชา เพราะ อั มาก่อน อา
ชาว มาก่อน ชำ เพระ อา มาก่อน อำ
เชื่อ มาก่อน แช่ เพระ เอ มาก่อน แอ

ในหมวดอักษรอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน


* คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ จะมาก่อนคำที่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น ราย ม้ก่อน ร่าย ร้าย แม้ในคำชี้แจงการใช้พจนานุกรมซึ่งอยู่ตอนต้นเล่มได้อธิบายไว้ว่ารูปวรรณยุกต์ไม่ได้เรียงลำดับไว้ แต่ถ้าสังเกตจะเป็นว่ามีการเรียงตามลำดับรูป เอเ โท ตรี จัตวา ด้วย

* พจนานุกรมฉบับนี้แบ่งหน้าหนังสือออกเป็น ๒ ซีกคือ ซีกซ้ายและซีกขวา ศัพท์ตัวแรกในซีกซ้ายจะปรากฏเหนือข้อความทั้งหมดในชีกซ้าย ส่วนทางซีกขวามือศัพท์ตัวสุดท้ายของซีกนั้นจะปรากฏอยู่คำที่ปรากฏเหนือข้อความทั้งซีกซ้ายและซีกขวานี้ ที่เรียกว่า คำชี้ทาง ถ้าเราจะค้นคำที่ต้องการในพจนานุกรมเราควรดูคำที่ปรากฏเหนือซีกซ้ายและซีกขวาที่กล่าวมานี้ เพื่อช่วยให้ค้นได้อย่างรวดเร้วว่าคำที่ต้องการอยู่ในหน้านั้นหรือไม่

* การเรียงคำที่เป็นนามย่อย ได้จัดเรียงนามย่อยไว้ตามหมวดตัวอักษร เช่น กระจอก เป็นนามย่อยของนก แต่ไม่ได้จัดไว้ใต้คำนก จัดไว้ในพวกกระ ช่อน เป็นนามย่อยของ ปลา แต่เรียงไว้ในหมวดอักษร ช เป็นต้น

* คำบางคำที่เป็นอนุพจน์หรือลูกคำของตั้ง ก็ จัดไว้ใต้คำตั้งทั้งสิ่น เช่น ชายเป็นคำตั้งมีอนุพจน์ คือ ชายกระเบน ชายคา ชายแครง ชายธง เป็นต้น


ประโยชน์ของพจนานุกรม

* พจนานุกรมเป็นแบบฉบับการเขียวสะกดการันต์ถ้อยคำในภาษา ดังนั้นเมือเกิดความสงสัยว่าคำนั้นควรเขียนอย่างไร เช่น เมื่อเห็นคำสะกดว่า กาสันต์ แล้วหาในพจนานุกรม ปรากฏว่าไม่มีคำนี้ มีแต่คำ กระสัน แสดงว่า คำแรกเขียนผิด ต้องเขน กระสัน จึงจะถูก

* ถ้าต้องการทราบว่า คำใดออกเสียงอย่างไร พจนานุกรมจะให้ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) เช่น

นาฏ, นาฏ- (นาด, นาตะ-, นาดตะ-)
คฤนถ์ (คฺรึน)
สิเนรุ (-เน-รุ)

* ถ้าต้องการรู้ความหมายของศัพท์อนจหาได้จากพจนานุกรม เช่น หากต้องการทราบความหมายของคำ เปลื่อง จากพนจานุกรมให้ความหมายว่า เอาออก (ใช้แก่เครื่องแต่งตัวที่นุ่งหรือคลุนอยู่) ทำให้หลุดพัน เพื่อแบ่งเบาหรือหมดไป เบ่น เปลื่องทุกข์ เปลื่องหนี้ ปลดเปลื่อง ก็ว่า คำที่มีความหมายหลายความหมายก็จะแสดงไว้ดังนี้ เช่น

เปรียง ๑ นมส้มผสมน้ำแล้วเจียวให้แตกมัน จัด้ป็นโครสอย่างหนึ่งใจำนวน ๕ อย่าง
เปรียง ๒ น้ำมัน โดยเฉพาะใช้สำหรับน้ำมันไขข้อของวัว
เปรียง ๓ เถาวัลย์เปรียง

* หากต้องการทราบว่า คำบางคำมีประวัคิมาอบ่างไร หรือเป็นคำที่เติมมาจากภาษาใด อาจดูได้จากที่บอกไว้ในวงเล็บ (----) เช่น

ประติทิน ( ส. ปฺรติ + ทิน; ป. ปฏิ + ทิน)
ส. หมายความว่า คำๆ นี้มาจากภาษาสันสฤต และรูปเดิมเป็น ปฺรติ+ ทิน
ป. หฟมายความว่า คำๆ นี้มาจากภาษาบาลี และรูปเดิมเป็น ปฏิ + ทิน
สำหรับความหมายของตัวย่อแต่ละตัว อาจพลิกดูได้ที่คำชี้แจงตอนต้นเล่มในพจนานุกรม

* ชนิดของคำ คือ อักษรขนาดเล็ก บอกไว้ถัดจากศัพท์ เช่น


จิ้มก้อง ก. ก. คือ คำกริยา
จิ้มลิ้น ว. ว.คือ คำวิศษณ์
สำหรับความหมายของตัวย่อแต่ละตัว อาจพลิกดูได้ที่คำชี้แจงตอนต้นเล่มในพจนานุกรม

ที่มาของข้อมูล

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 8

รูปแบบของพจนานุกรม

* พจนานุกรมภาษาเดียว มักเป็นพจนานุกรมหลัก ที่อธิบายความหมายของคำในภาษาหนึ่งๆ ภาษาที่อธิบายความหมาย เป็นภาษาเดียวกับภาษาที่ลำดับเป็นหลักในพจนานุกรม วงศัพท์ในพจนานุกรมภาษาเดียวมักจะกว้าง แทบจะครอบคลุมทุกคำที่มีอยู่ในภาษานั้นหรือแวดวงนั้น (แม้ว่าจะเป็นไปไม่ได้ก็ตาม)
* พจนานุกรมสองภาษา เป็นพจนานุกรมที่อธิบายความหมายของคำในภาษาหนึ่งๆ ด้วยอีกภาษาหนึ่ง เราพบเห็นได้ทั่วไป เช่น พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ที่มีการให้ความหมายเป็นภาษาไทย หรือในทางกลับกัน การอธิบายความหมายนั้น อาจจะสั้น หรือให้ความหมายยืดยาวอย่างละเอียด ก็ยังเรียกว่า พจนานุกรมสองภาษา เช่นกัน
* พจนานุกรมหลายภาษา เป็นพจนานุกรมที่ มักจะเทียบศัพท์จากภาษาหนึ่ง ไปเป็นศัพท์ภาษาอื่นๆ มากกว่า 1 ภาษา พจนานุกรมลักษณะนี้ ไม่เน้นความละเอียดในการอธิบายศัพท์ เนื่องจากข้อจำกัดของเนื้อที่ และเพื่อความสะดวกในการค้นหาศัพท์ เช่น ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
* พจนานุกรมเฉพาะทาง เป็นพจนานุกรมที่รวบรวมคำศัพท์เฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น พจนานุกรมศัพท์วิศวกรรม พจนานุกรมศัพท์วรรณคดี เป็นต้น
* พจนานุกรมคำสัมผัส เป็นพจนานุกรมที่ลำดับคำ ตามเสียงสระ และเสียงพยัญชนะตัวสะกด เพื่อประโยชน์ในการแต่งคำประพันธ์ เอาเสียงสัมผัส อย่างไรก็ตาม พจนานุกรมแบบนี้พบได้น้อย เนื่องจากมีผู้ใช้ในวงจำกัด
* พจนานุกรมคำเหมือนและคำตรงข้าม เป็นพจนานุกรมที่รวบรวมคำศัพท์ที่มีความหมายอย่างเดียวกันเรียงไว้เป็นลำดับ โดยมากมักจะมีคำศัพท์ที่มีความหมายตรงกันข้ามเอาไว้ด้วย

[แก้] คุณลักษณะของพจนานุกรม

* การสะกด การสะกดในพจนานุกรมถือเป็นมาตรฐานในการใช้งาน และถือเป็นหน้าที่หลักลำดับแรกของพจนานุกรม บางภาษามีการเขียนแยกคำไว้ให้ เพื่อความสะดวกในการพิมพ์ที่จำเป็นต้องขึ้นบรรทัดใหม่ นอกจากนี้บางคำที่สามารถสะกดได้มากกว่า 1 แบบ พจนานุกรมจะเก็บไว้ด้วย
* ความหมาย การอธิบายความหมาย อาจเป็นข้อความสั้นๆ หรือให้รายละเอียดมาก แจกแจงเป็นข้อย่อยๆ การให้ความหมายถือเป็นหัวใจหลักของพจนานุกรมส่วนใหญ่
* คุณสมบัติทางไวยากรณ์ นั่นคือระบุประเภทของคำ ว่าเป็น คำนาม คำกริยา คำสรรพนาม ฯลฯ ซึ่งมักปรากฏในพจนานุกรมภาษา (ไม่ใช่พจนานุกรมศัพท์เฉพาะ)
* ตัวอย่างประโยค และปริบท พจนานุกรมอาจยกตัวอย่างประโยคเพื่อให้เข้าใจความหมายและการใช้คำนั้นๆ ง่ายขึ้น บางเล่ม มีตัวอย่างประโยคสำหรับทุกคำในพจนานุกรมเลยทีเดียว
* การออกเสียง สำหรับภาษาเขียนที่มีเกณฑ์การออกเสียงที่ซับซ้อน และไม่สามารถคาดคะเนได้จากรูปเขียนอย่างถูกต้อง เช่น ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน และแม้กระทั่งภาษาไทยก็ตาม พจนานุกรมจะระบุการออกเสียงไว้ด้วย บางเล่มออกเสียงให้ทุกคำ ขณะที่บางเล่มระบุการออกเสียงให้เฉพาะคำที่อ่านยาก หรือเป็นข้อยกเว้น
* ประวัติคำ หรือที่มาของคำ พจนานุกรมที่มีความละเอียด จะให้ที่มีของคำ ว่าพบครั้งแรกที่ใด หรือ
* คุณลักษณะอื่นๆ เช่น การใช้คำ ความหมายแฝง หรือข้อควรสังเกตอื่นๆ

[แก้] พจนานุกรมที่สำคัญ

* พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
* พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด (Oxford English Dictionary)

ที่มาของข้อมูล

ส่งงาน E-books

การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่32 ณ เมืองค

มรดกโลกของไทย ไดเดินทางถึงเมืองควิเบก ประเทศแคนาดา เพื่อเขารวมการประชุม ... ระหวางวันที่2 – 10 กรกฎาคม 2551 ในฐานะรัฐภาคีอนุสัญญามรดกโลก ...
32_WHC_in_Canada_-_001.pdf - book search การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่32

ที่มา http://e-bookmarket.com/index.php?keyword=%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81&page=results&x=34&y=12&filetype=pdf

ความรู้เบื้องต้นเรื่องการอนุรักษ์มรดกโลก ภู

อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ... สถานที่ต่างๆ 851 แหล่ง ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2008) กว่า 174 ...
Thai_Intro_to_World_Heritage.pdf - book search ความรู้เบื้องต้นเรื่องการอนุรักษ์มรดกโลก

ที่มา http://e-bookmarket.com/index.php?keyword=%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81&page=results&x=0&y=0&filetype=pdf

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 7

.. พจนานุกรมภาษามือ ประโยชน์สำหรับคนพิการ ..

พจนานุกรมภาษามือ

เทคโนโลยีนับเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มโอกาสให้กับผู้พิการ
ซึ่ง “โปรแกรมประดิษฐ์พจนานุกรมภาษามือช่วยสื่อสารคนพิการทางหู” ผลงานของนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิว เตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตภูเก็ต ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานที่มีส่วนช่วยให้ผู้พิการทางการได้ยินให้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลทั่วไปได้
นายอัมรินทร์ ดีมะการ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตภูเก็ต บอกว่า โครงการระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนรู้ภาษามือไทยหรือพจนานุกรมมัลติมีเดียภาษามือ เพื่อช่วยในการเรียน/การสอนในชั้นเรียนของผู้พิการทางการได้ยินของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มอ. เขตการศึกษาภูเก็ต ที่พัฒนาโปรแกรมโดยนางสาวไพลิน พันธุ์ฉลาด และ นางสาวบุษรา สกุลสุจิราภา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศระดับนิสิต/นักศึกษา ในโครงการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอม พิวเตอร์แห่งประเทศไทย (National Software Contest : NSC) ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็ก ทรอนิกส์และคอม พิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งการแข่งขันในระดับนี้ไม่ มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยใดได้รับรางวัลชนะเลิศ
โปรแกรมดัง กล่าวจะช่วยผู้พิการ ทางการได้ยินให้ สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลทั่วไปได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้พิการทางหูและช่วยลดช่องว่างทางสังคม มีการพัฒนาให้สามารถใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ตและมือถือ รวมไปถึงคอมพิวเตอร์ทั่วไป
โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะแปล ข้อความภาษาไทยเป็นภาษามือ ช่วยสื่อการสอนภาษามือไทยสำหรับชาวต่างชาติได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ในระบบยังมีการสร้างท่าทางภาษามือไทยแบบสามมิติ และมีเกมสำหรับการเรียนรู้ภาษามือไทย
ทั้งนี้ทางภาควิชาฯ จะมีการปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรมให้เป็นพจนานุกรมภาษามือที่ครอบคลุมการสื่อสารสำหรับผู้พิการ ทางการได้ยินให้มากที่สุด ซึ่งปัจจุบันทางภาควิชามีการพัฒนาต่อเนื่องตลอดเวลา โดยเพิ่มข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ อาทิ ระบบเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษามือไทยเบื้องต้น ระบบแบบฝึกหัดภาษามือไทยรวมไปถึง คำศัพท์ต่าง ๆ ให้มากขึ้น
ด้านนางสาวไพลิน พันธุ์ฉลาด นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมคอม พิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มอ. กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมานั้น ได้เข้า ไปศึกษาข้อมูลที่โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนผู้พิการทางการได้ยิน พบว่าสื่อที่ใช้สอนสำหรับผู้ที่มีความ บกพร่องด้านนี้มีหลายสื่อ แต่ยังไม่มีสื่อที่ สามารถออนไลน์ได้ทางอินเทอร์เน็ตและมือถือ เลยคิดพัฒนาโปรแกรมนี้ขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้คนหูหนวกได้มีโอกาสเรียนเพิ่มขึ้นในอีกหนึ่งช่องทาง โดยคนปกติก็สามารถเรียนได้ เพื่อที่จะได้สื่อสารกับคนหูหนวกได้อย่างรู้เรื่อง โดยโปรแกรมแบ่งคำศัพท์ออกเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน อาทิ พืช ผัก อาหาร การแต่งกาย สถานที่ จังหวัด ฯลฯ
สำหรับจุดเด่นของโปรแกรมเมื่อคีย์คำศัพท์ลงไปและค้นหาข้อมูลแล้ว จะปรากฏ ออกเป็นทั้งภาพนิ่ง ไฟล์วิดีโอภาพเคลื่อนไหวภาษามือ และเป็นไฟล์เสียงออกมาด้วย ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งคนปกติและคนหูหนวก ในอนาคตจะพัฒนาโปรแกรมโดยการเพิ่มคำศัพท์ให้มากขึ้น จากที่มีอยู่เดิมประมาณ 700 คำ โดยในจำนวนนี้มีคำศัพท์ที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งจะประมวลผลคำศัพท์ออกมามีทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว คำบรรยายภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวนทั้งสิ้น 500 คำ ส่วนที่เหลืออีก 200 คำจะพัฒนาให้สมบูรณ์มากขึ้น นอกจากนี้จะเพิ่มแบบฝึกหัดในการเรียน รวมทั้งเพิ่มหลักการในการคำนวณทางคณิตศาสตร์เข้าไปด้วย
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ทางภาควิชาได้เปิดให้โรงเรียนที่สนใจนำโปรแกรมดังกล่าวไปทดลองใช้แล้ว โดยติดต่อได้ที่ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตภูเก็ต มอ. โทร. 0-7627-6000 หรือ 08-1696-8415.

แหล่งที่มา http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=165244&NewsType=1&Template=1

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 6

ราชบัณฑิตรับเก็บ “เหวง” เป็นคำใหม่ หากฮิตใช้นานเตรียมบรรจุลงพจนานุกรม
“ราชบัณฑิต” แจงยังไม่บรรจุคำ “เหวง” ลงพจนานุกรม แค่เก็บข้อมูลคำที่สังคมใช้ หาความหมาย ตัวอย่างประกอบ ชี้หากติดปากอยู่นานอาจบรรจุลงพจนานุกรมได้ ด้านนักภาษาเชื่อยังใช้อีกนานเหตุคำฮิตติดปากกว้างขวาง

วันนี้ (9 เม.ย.) นางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตและนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีมีการนำเสนอข่าวว่าจะนำคำว่า “เหวง” บรรจุเพิ่มในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเล่มหลัก และพจนานุกรมคำศัพท์ใหม่เล่ม 3 ว่า เป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อน ขณะนี้ยังไม่มีการบรรจุคำว่า “เหวง” เพิ่มในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเล่มหลักและพจนานุกรมคำใหม่แต่อย่างใด ในเบื้องต้นหลังจากเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวคณะทำงานได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับคำว่า “เหวง” ไว้ แต่ต้องพิจารณาดูก่อนว่าคำดังกล่าวจะได้รับความนิยมและใช้อย่างต่อเนื่องหรือไม่

ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โดยปกติแล้วกรรมการพจนานุกรมฉบับปัจจุบัน ซึ่งตนเป็นหนึ่งในกรรมการ จะมีการเก็บคำศัพท์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยมีการบันทึกความหมาย หาตัวอย่างประกอบคำ ทั้งนี้คำที่จะเก็บเข้าพจนานุกรมได้นั้นต้องเป็นคำที่สังคมใช้กันอยู่ในระยะหนึ่ง จนสามารถมั่นใจได้ว่าคำศัพท์นั้นจะคงอยู่ต่อไป เหมือนคำศัพท์ทางการเมืองคำว่า “โซ่ข้อกลาง” ซึ่งขณะนี้ก็มีการเก็บศัพท์ไว้ในพจนานุกรมฉบับปัจจุบันแล้ว

“หากไม่มีการเก็บคำที่เกิดขึ้นในสังคม เมื่อเวลา เหตุการณ์ใดๆ ผ่านไป จนกระทั่งอนาคต 20-30 ปี คนรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นอาจมีการสืบหาข้อมูลเพื่อการทำวิจัยต่อเหตุการณ์บ้านเมืองในช่วงที่ผ่านมา ก็อาจไม่รู้ว่าในช่วงเวลานั้นๆ คำดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร แปลว่าอะไร พจนานุกรมฉบับปัจจุบันจะช่วยให้สังคมในอนาคตรู้ว่าอะไรคืออะไร” ดร.อนันต์กล่าว

ดร.อนันต์กล่าวอีกว่า คำว่าเหวงเป็นคำศัพท์ที่ติดอยู่ในสังคมตอนนี้แล้ว โดยเป็นคำกริยาที่มีความหมาย คือ การพูดกลับไปกลับมา ชวนให้สับสน พูดมากโดยไม่มีความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามขณะนี้คำว่าเหวงมีผู้คนใช้กันอย่างกว้างขวาง จึงมองว่าคำๆ นี้จะสามารถเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับปัจจุบันได้ต่อไป

แหล่งที่มา http://paidoo.net/tag/%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1