วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 9

การใช้พจนานุกรม


พจนานุกรมช่วยให้เราสามารถค้นหาคำ อ่านและเขียนคำๆ ได้ถูกต้อง มีพจนานุกรมหลายฉบับ ฉบับที่ทางราชการกำหนดให้ใช้เป็นบรรทัดฐาน คือ
พจนานุกรมฉบับีาชบัณฑิตยสถาน ซึ่งเป็นพจนานุกรมใหญ่ที่สุดด้วย


วิธีเรียงลำดับคำในพจนานุกรม

เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเปิดหาคำในพจนานุกรมได้อย่างรวดเร็ว ผู้เรียนควรรู้ว่าพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเรียงลำดับคำอย่างไร

* คำในพจนานุกรมเรียงลำดับตามรูปพยัญชนะตัวแรกในคำ โดยเรียงดังนี้

ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง
จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต
ถ ท ธ น บ ป ผ
ฝ พ ฟ ภ ม ย ร
ฤ ฤๅ ล ฦ ฦๅ ว ศ
ษ ส ห ฬ อ ฮ

* คำในพจนานุกรมไม่เรียงลำดับตามเสียงอ่าน แตรเรียงลำดับตามรูปพยางค์ ดังนั้นถ้าจะค้นคำว่า หญิง หนัง หมวด หลาย จะต้องไปค้นในหมวดตัวอักษร ห ถ้าจะค้นคำว่าทราบ ทรัพย์ ก็ไปค้นในหมวดตัวอักษร ท


* คำที่อยู่ในหมวดอักษรเดียวกันจะเรียงลำดับตามรูปพยัญชนะตัวถัดไปของคำ ไม่ว่าพยัญชนะตัวถัดไปจะเป็นตัวสะกด อักษรควบกล้ำ หรืออักษรที่ตามอักษรนำ

ตัวอย่าง

กง (ง เป็นตัวสะกด) มาก่อน กฎ เพราะ ง มาก่อน ฎ
กฎ มาก่อน กรด (ร เป็นส่วนหนึ่งของอักษรควบกล้ำ) เพราะ ฎ มาก่อน ร
ขนม (ข อักษรนำ น อักษรตาม) มาก่อน ขบ เพราะ น มาก่อน บ


* คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะและตามด้วยสระจะมาหลังคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ และตามด้วยพยัญชนะ

ตัวอย่าง

คำ กระ จะมาหลังคำ กร่อย คำ คะ จะมาหลังคำ คอ


* การเรียงคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะและตามด้วยสระ จะเรียงลำดับตามรูปสระ ดังนี้

อะ อั อัะ อา อำ อิ อี อึ อื
อุ อู เ เอะ เอา เอาะ เอิ เอี เอีะ
เอื เอืะ แ แอะ โ โอะ ใ ไ


การเรียงคำที่ขึ้นต้นด้วยพจัญชนะและตามด้วยสระ รูปสระที่มี ะ จะมาก่อน และตามด้วย อั อัะ ต่อไปเป็นณุปสระที่มี อา คือ อำ รูปสระที่มี เอ ทุกๆรูปตั้งแต่ที่มีจำนวนรูปน้อยที่สุดจะเรียงลำดับต่อๆ มาแล้วจึงถึงรูปสระที่มี แอ และมี ไอ เป็นอันดับสุดท้าย หากเป็นพจนานุกรมหมวดอักษร ช จะเห็นว่า

ชัย มาก่อน ชา เพราะ อั มาก่อน อา
ชาว มาก่อน ชำ เพระ อา มาก่อน อำ
เชื่อ มาก่อน แช่ เพระ เอ มาก่อน แอ

ในหมวดอักษรอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน


* คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ จะมาก่อนคำที่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น ราย ม้ก่อน ร่าย ร้าย แม้ในคำชี้แจงการใช้พจนานุกรมซึ่งอยู่ตอนต้นเล่มได้อธิบายไว้ว่ารูปวรรณยุกต์ไม่ได้เรียงลำดับไว้ แต่ถ้าสังเกตจะเป็นว่ามีการเรียงตามลำดับรูป เอเ โท ตรี จัตวา ด้วย

* พจนานุกรมฉบับนี้แบ่งหน้าหนังสือออกเป็น ๒ ซีกคือ ซีกซ้ายและซีกขวา ศัพท์ตัวแรกในซีกซ้ายจะปรากฏเหนือข้อความทั้งหมดในชีกซ้าย ส่วนทางซีกขวามือศัพท์ตัวสุดท้ายของซีกนั้นจะปรากฏอยู่คำที่ปรากฏเหนือข้อความทั้งซีกซ้ายและซีกขวานี้ ที่เรียกว่า คำชี้ทาง ถ้าเราจะค้นคำที่ต้องการในพจนานุกรมเราควรดูคำที่ปรากฏเหนือซีกซ้ายและซีกขวาที่กล่าวมานี้ เพื่อช่วยให้ค้นได้อย่างรวดเร้วว่าคำที่ต้องการอยู่ในหน้านั้นหรือไม่

* การเรียงคำที่เป็นนามย่อย ได้จัดเรียงนามย่อยไว้ตามหมวดตัวอักษร เช่น กระจอก เป็นนามย่อยของนก แต่ไม่ได้จัดไว้ใต้คำนก จัดไว้ในพวกกระ ช่อน เป็นนามย่อยของ ปลา แต่เรียงไว้ในหมวดอักษร ช เป็นต้น

* คำบางคำที่เป็นอนุพจน์หรือลูกคำของตั้ง ก็ จัดไว้ใต้คำตั้งทั้งสิ่น เช่น ชายเป็นคำตั้งมีอนุพจน์ คือ ชายกระเบน ชายคา ชายแครง ชายธง เป็นต้น


ประโยชน์ของพจนานุกรม

* พจนานุกรมเป็นแบบฉบับการเขียวสะกดการันต์ถ้อยคำในภาษา ดังนั้นเมือเกิดความสงสัยว่าคำนั้นควรเขียนอย่างไร เช่น เมื่อเห็นคำสะกดว่า กาสันต์ แล้วหาในพจนานุกรม ปรากฏว่าไม่มีคำนี้ มีแต่คำ กระสัน แสดงว่า คำแรกเขียนผิด ต้องเขน กระสัน จึงจะถูก

* ถ้าต้องการทราบว่า คำใดออกเสียงอย่างไร พจนานุกรมจะให้ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) เช่น

นาฏ, นาฏ- (นาด, นาตะ-, นาดตะ-)
คฤนถ์ (คฺรึน)
สิเนรุ (-เน-รุ)

* ถ้าต้องการรู้ความหมายของศัพท์อนจหาได้จากพจนานุกรม เช่น หากต้องการทราบความหมายของคำ เปลื่อง จากพนจานุกรมให้ความหมายว่า เอาออก (ใช้แก่เครื่องแต่งตัวที่นุ่งหรือคลุนอยู่) ทำให้หลุดพัน เพื่อแบ่งเบาหรือหมดไป เบ่น เปลื่องทุกข์ เปลื่องหนี้ ปลดเปลื่อง ก็ว่า คำที่มีความหมายหลายความหมายก็จะแสดงไว้ดังนี้ เช่น

เปรียง ๑ นมส้มผสมน้ำแล้วเจียวให้แตกมัน จัด้ป็นโครสอย่างหนึ่งใจำนวน ๕ อย่าง
เปรียง ๒ น้ำมัน โดยเฉพาะใช้สำหรับน้ำมันไขข้อของวัว
เปรียง ๓ เถาวัลย์เปรียง

* หากต้องการทราบว่า คำบางคำมีประวัคิมาอบ่างไร หรือเป็นคำที่เติมมาจากภาษาใด อาจดูได้จากที่บอกไว้ในวงเล็บ (----) เช่น

ประติทิน ( ส. ปฺรติ + ทิน; ป. ปฏิ + ทิน)
ส. หมายความว่า คำๆ นี้มาจากภาษาสันสฤต และรูปเดิมเป็น ปฺรติ+ ทิน
ป. หฟมายความว่า คำๆ นี้มาจากภาษาบาลี และรูปเดิมเป็น ปฏิ + ทิน
สำหรับความหมายของตัวย่อแต่ละตัว อาจพลิกดูได้ที่คำชี้แจงตอนต้นเล่มในพจนานุกรม

* ชนิดของคำ คือ อักษรขนาดเล็ก บอกไว้ถัดจากศัพท์ เช่น


จิ้มก้อง ก. ก. คือ คำกริยา
จิ้มลิ้น ว. ว.คือ คำวิศษณ์
สำหรับความหมายของตัวย่อแต่ละตัว อาจพลิกดูได้ที่คำชี้แจงตอนต้นเล่มในพจนานุกรม

ที่มาของข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น