วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 7

.. พจนานุกรมภาษามือ ประโยชน์สำหรับคนพิการ ..

พจนานุกรมภาษามือ

เทคโนโลยีนับเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มโอกาสให้กับผู้พิการ
ซึ่ง “โปรแกรมประดิษฐ์พจนานุกรมภาษามือช่วยสื่อสารคนพิการทางหู” ผลงานของนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิว เตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตภูเก็ต ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานที่มีส่วนช่วยให้ผู้พิการทางการได้ยินให้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลทั่วไปได้
นายอัมรินทร์ ดีมะการ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตภูเก็ต บอกว่า โครงการระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนรู้ภาษามือไทยหรือพจนานุกรมมัลติมีเดียภาษามือ เพื่อช่วยในการเรียน/การสอนในชั้นเรียนของผู้พิการทางการได้ยินของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มอ. เขตการศึกษาภูเก็ต ที่พัฒนาโปรแกรมโดยนางสาวไพลิน พันธุ์ฉลาด และ นางสาวบุษรา สกุลสุจิราภา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศระดับนิสิต/นักศึกษา ในโครงการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอม พิวเตอร์แห่งประเทศไทย (National Software Contest : NSC) ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็ก ทรอนิกส์และคอม พิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งการแข่งขันในระดับนี้ไม่ มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยใดได้รับรางวัลชนะเลิศ
โปรแกรมดัง กล่าวจะช่วยผู้พิการ ทางการได้ยินให้ สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลทั่วไปได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้พิการทางหูและช่วยลดช่องว่างทางสังคม มีการพัฒนาให้สามารถใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ตและมือถือ รวมไปถึงคอมพิวเตอร์ทั่วไป
โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะแปล ข้อความภาษาไทยเป็นภาษามือ ช่วยสื่อการสอนภาษามือไทยสำหรับชาวต่างชาติได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ในระบบยังมีการสร้างท่าทางภาษามือไทยแบบสามมิติ และมีเกมสำหรับการเรียนรู้ภาษามือไทย
ทั้งนี้ทางภาควิชาฯ จะมีการปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรมให้เป็นพจนานุกรมภาษามือที่ครอบคลุมการสื่อสารสำหรับผู้พิการ ทางการได้ยินให้มากที่สุด ซึ่งปัจจุบันทางภาควิชามีการพัฒนาต่อเนื่องตลอดเวลา โดยเพิ่มข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ อาทิ ระบบเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษามือไทยเบื้องต้น ระบบแบบฝึกหัดภาษามือไทยรวมไปถึง คำศัพท์ต่าง ๆ ให้มากขึ้น
ด้านนางสาวไพลิน พันธุ์ฉลาด นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมคอม พิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มอ. กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมานั้น ได้เข้า ไปศึกษาข้อมูลที่โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนผู้พิการทางการได้ยิน พบว่าสื่อที่ใช้สอนสำหรับผู้ที่มีความ บกพร่องด้านนี้มีหลายสื่อ แต่ยังไม่มีสื่อที่ สามารถออนไลน์ได้ทางอินเทอร์เน็ตและมือถือ เลยคิดพัฒนาโปรแกรมนี้ขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้คนหูหนวกได้มีโอกาสเรียนเพิ่มขึ้นในอีกหนึ่งช่องทาง โดยคนปกติก็สามารถเรียนได้ เพื่อที่จะได้สื่อสารกับคนหูหนวกได้อย่างรู้เรื่อง โดยโปรแกรมแบ่งคำศัพท์ออกเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน อาทิ พืช ผัก อาหาร การแต่งกาย สถานที่ จังหวัด ฯลฯ
สำหรับจุดเด่นของโปรแกรมเมื่อคีย์คำศัพท์ลงไปและค้นหาข้อมูลแล้ว จะปรากฏ ออกเป็นทั้งภาพนิ่ง ไฟล์วิดีโอภาพเคลื่อนไหวภาษามือ และเป็นไฟล์เสียงออกมาด้วย ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งคนปกติและคนหูหนวก ในอนาคตจะพัฒนาโปรแกรมโดยการเพิ่มคำศัพท์ให้มากขึ้น จากที่มีอยู่เดิมประมาณ 700 คำ โดยในจำนวนนี้มีคำศัพท์ที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งจะประมวลผลคำศัพท์ออกมามีทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว คำบรรยายภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวนทั้งสิ้น 500 คำ ส่วนที่เหลืออีก 200 คำจะพัฒนาให้สมบูรณ์มากขึ้น นอกจากนี้จะเพิ่มแบบฝึกหัดในการเรียน รวมทั้งเพิ่มหลักการในการคำนวณทางคณิตศาสตร์เข้าไปด้วย
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ทางภาควิชาได้เปิดให้โรงเรียนที่สนใจนำโปรแกรมดังกล่าวไปทดลองใช้แล้ว โดยติดต่อได้ที่ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตภูเก็ต มอ. โทร. 0-7627-6000 หรือ 08-1696-8415.

แหล่งที่มา http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=165244&NewsType=1&Template=1

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 6

ราชบัณฑิตรับเก็บ “เหวง” เป็นคำใหม่ หากฮิตใช้นานเตรียมบรรจุลงพจนานุกรม
“ราชบัณฑิต” แจงยังไม่บรรจุคำ “เหวง” ลงพจนานุกรม แค่เก็บข้อมูลคำที่สังคมใช้ หาความหมาย ตัวอย่างประกอบ ชี้หากติดปากอยู่นานอาจบรรจุลงพจนานุกรมได้ ด้านนักภาษาเชื่อยังใช้อีกนานเหตุคำฮิตติดปากกว้างขวาง

วันนี้ (9 เม.ย.) นางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตและนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีมีการนำเสนอข่าวว่าจะนำคำว่า “เหวง” บรรจุเพิ่มในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเล่มหลัก และพจนานุกรมคำศัพท์ใหม่เล่ม 3 ว่า เป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อน ขณะนี้ยังไม่มีการบรรจุคำว่า “เหวง” เพิ่มในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเล่มหลักและพจนานุกรมคำใหม่แต่อย่างใด ในเบื้องต้นหลังจากเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวคณะทำงานได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับคำว่า “เหวง” ไว้ แต่ต้องพิจารณาดูก่อนว่าคำดังกล่าวจะได้รับความนิยมและใช้อย่างต่อเนื่องหรือไม่

ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โดยปกติแล้วกรรมการพจนานุกรมฉบับปัจจุบัน ซึ่งตนเป็นหนึ่งในกรรมการ จะมีการเก็บคำศัพท์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยมีการบันทึกความหมาย หาตัวอย่างประกอบคำ ทั้งนี้คำที่จะเก็บเข้าพจนานุกรมได้นั้นต้องเป็นคำที่สังคมใช้กันอยู่ในระยะหนึ่ง จนสามารถมั่นใจได้ว่าคำศัพท์นั้นจะคงอยู่ต่อไป เหมือนคำศัพท์ทางการเมืองคำว่า “โซ่ข้อกลาง” ซึ่งขณะนี้ก็มีการเก็บศัพท์ไว้ในพจนานุกรมฉบับปัจจุบันแล้ว

“หากไม่มีการเก็บคำที่เกิดขึ้นในสังคม เมื่อเวลา เหตุการณ์ใดๆ ผ่านไป จนกระทั่งอนาคต 20-30 ปี คนรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นอาจมีการสืบหาข้อมูลเพื่อการทำวิจัยต่อเหตุการณ์บ้านเมืองในช่วงที่ผ่านมา ก็อาจไม่รู้ว่าในช่วงเวลานั้นๆ คำดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร แปลว่าอะไร พจนานุกรมฉบับปัจจุบันจะช่วยให้สังคมในอนาคตรู้ว่าอะไรคืออะไร” ดร.อนันต์กล่าว

ดร.อนันต์กล่าวอีกว่า คำว่าเหวงเป็นคำศัพท์ที่ติดอยู่ในสังคมตอนนี้แล้ว โดยเป็นคำกริยาที่มีความหมาย คือ การพูดกลับไปกลับมา ชวนให้สับสน พูดมากโดยไม่มีความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามขณะนี้คำว่าเหวงมีผู้คนใช้กันอย่างกว้างขวาง จึงมองว่าคำๆ นี้จะสามารถเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับปัจจุบันได้ต่อไป

แหล่งที่มา http://paidoo.net/tag/%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 5

พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย & ไทย-อังกฤษ ฉบับทันสมัย ปกอ่อน เป็นการรวบรวมศัพท์ภาษาอังกฤษกับภาษาไทยที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งศัพท์สามัญที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ศัพท์ทันสมัยในแวดวงคอมพิวเตอร์ ธุรกิจ การศึกษา ฯลฯ มีศัพท์อังกฤษ-ไทย กว่า 4, คำ และศัพท์ไทย-อังกฤษ กว่า 22, คำ เพิ่มศัพท์ภาษาอังกฤษใหม่ ๆ ที่ทันสมัย เพิ่มศัพท์ภาษาไทยร่วมสมัยหรือนิยมใช้ทับศัพท์กัน และศัพท์ภาษาไทยเฉพาะทางที่น่ารู้ ทั้งรวมอักษรย่อสำคัญ ๆ สำนวนภาษาอังกฤษ คำแสลง ภาษาพูดที่ควรทราบ อธิบายละเอียด ชัดเจน เข้าใจง่าย มีภาพประกอบช่วยเพิ่มความเข้าใจ พร้อมคำอ่านศัพท์ภาษาอังกฤษถูกต้องตามหลักสัทศาสตร์
ที่มาwww.thaibookworld.com

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 4

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของคำว่า สาร ที่อยู่ในคำนิตยสาร และวารสาร ว่า หมายถึง หนังสือ คำว่า นิตยสาร มาจากคำ นิตย+สาร นิตย- เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า เสมอไป, สม่ำเสมอ พจนานุ กรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า หนังสือพิมพ์ที่ออกเป็นรายคาบ เช่น นิตยสารรายสัปดาห์ นิตยสารรายเดือน พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า นิตยสาร มาจากภาษาอังกฤษว่า magazine เป็นหนังสือที่ออกเป็นกำหนดเวลา มีเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องสั้น ความเรียง บทความ บทวิจารณ์ บทพรรณนา บทขบขัน และบางทีก็มีนวนิยายเป็นตอน ๆ นิตยสารพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ปัจจุบันนิตยสารนับเป็นหนังสือที่นิยมแพร่หลายที่สุดในวงการอ่าน นิตยสารใดมีผู้อ่านมาก นิตยสารนั้นก็จะมีอิทธิพลสูงไม่เฉพาะแต่ในวงการวรรณกรรมเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลในด้านสังคมและการเมืองอีกด้วย

ส่วน วารสาร พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตย สถาน ให้ความหมายว่า หนังสือที่ออกตามกำหนดเวลา เช่น วารสารราชบัณฑิตยสถาน วารสารศิลปากร วารสารกรมการแพทย์ คำว่า วารสาร มาจากภาษาอังกฤษว่า journal หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่คล้ายนิตยสาร แต่มีเนื้อหาที่เป็นวิชาการมากกว่า วารสารมักจะเป็นการรวบรวมบทความจากสมาชิกของกลุ่มผู้ที่มีความรู้

ที่มาhttp://www. royin.go.th