วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 7

.. พจนานุกรมภาษามือ ประโยชน์สำหรับคนพิการ ..

พจนานุกรมภาษามือ

เทคโนโลยีนับเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มโอกาสให้กับผู้พิการ
ซึ่ง “โปรแกรมประดิษฐ์พจนานุกรมภาษามือช่วยสื่อสารคนพิการทางหู” ผลงานของนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิว เตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตภูเก็ต ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานที่มีส่วนช่วยให้ผู้พิการทางการได้ยินให้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลทั่วไปได้
นายอัมรินทร์ ดีมะการ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตภูเก็ต บอกว่า โครงการระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนรู้ภาษามือไทยหรือพจนานุกรมมัลติมีเดียภาษามือ เพื่อช่วยในการเรียน/การสอนในชั้นเรียนของผู้พิการทางการได้ยินของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มอ. เขตการศึกษาภูเก็ต ที่พัฒนาโปรแกรมโดยนางสาวไพลิน พันธุ์ฉลาด และ นางสาวบุษรา สกุลสุจิราภา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศระดับนิสิต/นักศึกษา ในโครงการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอม พิวเตอร์แห่งประเทศไทย (National Software Contest : NSC) ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็ก ทรอนิกส์และคอม พิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งการแข่งขันในระดับนี้ไม่ มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยใดได้รับรางวัลชนะเลิศ
โปรแกรมดัง กล่าวจะช่วยผู้พิการ ทางการได้ยินให้ สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลทั่วไปได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้พิการทางหูและช่วยลดช่องว่างทางสังคม มีการพัฒนาให้สามารถใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ตและมือถือ รวมไปถึงคอมพิวเตอร์ทั่วไป
โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะแปล ข้อความภาษาไทยเป็นภาษามือ ช่วยสื่อการสอนภาษามือไทยสำหรับชาวต่างชาติได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ในระบบยังมีการสร้างท่าทางภาษามือไทยแบบสามมิติ และมีเกมสำหรับการเรียนรู้ภาษามือไทย
ทั้งนี้ทางภาควิชาฯ จะมีการปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรมให้เป็นพจนานุกรมภาษามือที่ครอบคลุมการสื่อสารสำหรับผู้พิการ ทางการได้ยินให้มากที่สุด ซึ่งปัจจุบันทางภาควิชามีการพัฒนาต่อเนื่องตลอดเวลา โดยเพิ่มข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ อาทิ ระบบเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษามือไทยเบื้องต้น ระบบแบบฝึกหัดภาษามือไทยรวมไปถึง คำศัพท์ต่าง ๆ ให้มากขึ้น
ด้านนางสาวไพลิน พันธุ์ฉลาด นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมคอม พิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มอ. กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมานั้น ได้เข้า ไปศึกษาข้อมูลที่โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนผู้พิการทางการได้ยิน พบว่าสื่อที่ใช้สอนสำหรับผู้ที่มีความ บกพร่องด้านนี้มีหลายสื่อ แต่ยังไม่มีสื่อที่ สามารถออนไลน์ได้ทางอินเทอร์เน็ตและมือถือ เลยคิดพัฒนาโปรแกรมนี้ขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้คนหูหนวกได้มีโอกาสเรียนเพิ่มขึ้นในอีกหนึ่งช่องทาง โดยคนปกติก็สามารถเรียนได้ เพื่อที่จะได้สื่อสารกับคนหูหนวกได้อย่างรู้เรื่อง โดยโปรแกรมแบ่งคำศัพท์ออกเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน อาทิ พืช ผัก อาหาร การแต่งกาย สถานที่ จังหวัด ฯลฯ
สำหรับจุดเด่นของโปรแกรมเมื่อคีย์คำศัพท์ลงไปและค้นหาข้อมูลแล้ว จะปรากฏ ออกเป็นทั้งภาพนิ่ง ไฟล์วิดีโอภาพเคลื่อนไหวภาษามือ และเป็นไฟล์เสียงออกมาด้วย ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งคนปกติและคนหูหนวก ในอนาคตจะพัฒนาโปรแกรมโดยการเพิ่มคำศัพท์ให้มากขึ้น จากที่มีอยู่เดิมประมาณ 700 คำ โดยในจำนวนนี้มีคำศัพท์ที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งจะประมวลผลคำศัพท์ออกมามีทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว คำบรรยายภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวนทั้งสิ้น 500 คำ ส่วนที่เหลืออีก 200 คำจะพัฒนาให้สมบูรณ์มากขึ้น นอกจากนี้จะเพิ่มแบบฝึกหัดในการเรียน รวมทั้งเพิ่มหลักการในการคำนวณทางคณิตศาสตร์เข้าไปด้วย
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ทางภาควิชาได้เปิดให้โรงเรียนที่สนใจนำโปรแกรมดังกล่าวไปทดลองใช้แล้ว โดยติดต่อได้ที่ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตภูเก็ต มอ. โทร. 0-7627-6000 หรือ 08-1696-8415.

แหล่งที่มา http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=165244&NewsType=1&Template=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น